วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ตัวละครในการ์ตูนที่ชื่นชอบ(เรื่อง นารูโตะ)

mybanner48971f078c67dph4.jpg
ชื่อ โอโรจิมารุ มาจากชื่อตัวละครในวรรณกรรมเรื่อง "จิระอิยะโงะเก็ตซึโมะโนะงะตะริ" (児雷也豪傑物語, เรื่องราวของจอมเจ้าชู้จิไรยะ) ซึ่งมี โอโรจิมารุ จิไรยะ และ ซึนาเดะ โดยในเนื้อเรื่องจิไรยะและซึนาเดะเป็นคู่สามีภรรยากัน โดยโอโรจิมารุมีเวทมนตร์งู
ในตำนานญี่ปุ่น โอะโระจิ หรือ ยะมะตะโนะโอะโระจิ (八岐大蛇) เป็นชื่องูแปดหัว ซึ่งพ่ายต่อต่อเทพเจ้าซุซะโน โดยคำว่า โอ (大) ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่าใหญ่ และ โระจิ หรือ เฮะบิ ( 蛇) มีความหมายว่า งู

 ประวัติ

โอโรจิมารุอดีตนินจาจากหมู่บ้านโคโนฮะ เรียนวิชาจากโฮคาเงะรุ่นที่ 3 พร้อมกับซึนาเดะและจิไรยะ โดยเมื่อสมัยที่ยังอยู่ในโคโนฮะ ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสามนินจาในตำนาน โอโรจิเป็นนินจาที่มีพรสวรรค์พยายามที่จะเรียนรู้วิชานินจาทุกชนิดที่มี และได้ทดลองวิชาต่างๆ กับร่างกายของนินจาคนอื่น รวมทั้งการผ่าตัดศพ เพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างอมตะ เพื่อสามารถสำเร็จวิชานินจาทุกชนิดที่มีมา ผลปรากฏว่าทำให้หลายคนในหมู่บ้านไม่พอใจ รวมทั้งโฮคาเงะรุ่นที่ 3 จนเมื่อมีการคัดเลือกโฮคาเงะรุ่นต่อมา โอโรจิมารุไม่ได้รับเลือก ทำให้โอโรจิมารุแค้นโฮคาเงะรุ่นที่ 3 และได้หนีออกจากหมู่บ้านไป
ต่อมาโอโรจิมารุได้ก่อตั้งหมู่บ้านโอะโตะ และได้เข้าร่วมกับกลุ่มแสงอุษา ในสามนินจาโอโรจิมารุเด่นสุด ขอย้ำว่าอยากให้โอโรจิมารุกลับมาโดยวิธีอะไรก็ชัง หรือออกมาจากคาบูโตะก็ได้

 คาถา-วิชานินจา

นอกจากความสามารถทางด้านนินจา โอโรจิมารุ สามารถย้ายร่างของตัวเองไปอยู่ในร่างของคนอื่นได้ อีกด้วยและยังมีลูกน้อง คือ 1.จิโรโบ 2.คิโดมารุ 3.ฝาแฝดซาคอน (น้อง) อูคอน (พี่) 4.ทายูยะ 5.คิมิมาโร่ 6.คาบูโตะ ความสามารถของจิโรโบคือ คุกดิน พลิกพสุธาและยิงกระสุนยักพสุธา

คาถา
  • คาถาสัมปเวสีคืนชีพ
  • คาถามือเงาอสรพิษรัดพัน
  • คาถานินจางูแฝดพลีชีพ
  • คาถาหัตถ์อสรพิษประสานเงา

วิชานินจา
  • วิชาอสรพิษลอกคาบ
  • วิชาลื้นอสรพิษ(ตอนเปิดวิชาที่สู้กับโฮคาเงะรุ่นที่3)
  • วิชาย้ายชีพอมตะ

 เนื้อเรื่อง

โอโรจิมารุได้แอบเข้าหมู่บ้านโคโนฮะในช่วงการสอบจูนิน โดยปลอมตัวมาโดยการลอกหน้าของนินจาหมู่บ้านอื่นใส่ในหน้าของตัวเอง และได้วางแผนให้นินจาจากหมู่บ้านโอะโตะ เข้ามาสอบในขณะเดียวกันในฐานะอาจารย์นินจาประจำหมู่บ้านโอะโตะ โดยในระหว่างการสอบรอบที่สองในป่า โอโรจิมารุได้มาโจมตีกลุ่มของ นารูโตะ เพื่อต้องการร่างกายของซาสึเกะ ไปเป็นร่างของตัวเอง โดยได้ผนึกอักขระไว้ที่คอของซาสึเกะ และได้หนีไป หลังจากนั้นในระหว่างรอบคัดเลือกเข้าสู่รอบสุดท้าย โอโรจิมารุได้ปรากฏตัวออกมาในฐานะอาจารย์ประจำหมู่บ้านโอะโตะ คอยสังเกตการณ์ ภายหลังรอบคัดเลือกได้จบลง แผนการโจมตีหมู่บ้านโคโนฮะ จากความร่วมมือของหมู่บ้านซึนะและหมู่บ้านโอโตะได้เตรียมอย่างสมบูรณ์ ในวันสอบจูนินรอบสุดท้าย โอโรจิมารุได้สังหารคาเซะคาเงะรุ่นที่ 4 ผู้เป็นพ่อของกาอาระ และได้ปลอมตัวเป็นคาเซะคาเงะ นั่งดูการแข่งขันข้างๆ กับโฮคาเงะรุ่นที่ 3 เมื่อสัญญาณการโจมตีดังขึ้น โอโรจิมารุได้ต่อสู้กับโฮคาเงะรุ่นที่ 3 โดยมีนินจาจากหมู่บ้านโอะโตะอีก 4 คน ช่วยกางคาถาม่านพลังไม่ให้คนอื่นเข้ามายุ่งในระหว่างที่โอโรจิมารุสู้กับโฮคาเงะรุ่นที่ 3 โดยในระหว่างการต่อสู้ โอโรจิมารุได้ใช้ร่างของลูกน้องตัวเองสังเวยเพื่อที่จะใช้คาถาสัมภเวสีคืนชีพร่างของ โฮคาเงะรุ่นที่ 1 และ โฮคาเงะรุ่นที่ 2 มาช่วยต่อสู้ ภายหลังการต่อสู้สิ้นสุดลง โฮคาเงะรุ่นที่ 3 ไม่สามารถเอาชนะโอโรจิมารุซึ่งเป็นอดีตศิษย์ได้ และได้เสียชีวิตลง พร้อมทั้งผนึกวิชานินจาบนมือทั้งสองข้างของโอโรจิมารุ ซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้วิชานินจาได้อีกต่อไป
การต่อสู้สิ้นสุดลงโอโรจิมารุ ได้ตัดสินใจออกตามหาซึนาเดะ นินจาแพทย์อดีตเพื่อนร่วมทีมเพื่อให้มาช่วยรักษามือทั้งสองข้าง โดยได้ตกลงกับซึนาเดะว่า ถ้ารักษามือทั้งสองข้างให้ จะช่วยปลุกร่างของนาวากิ น้องชาย และดันอดีตแฟนของซึนาเดะ ที่ทั้งสองคนเสียชีวิตในช่วงของสงครามนินจาคืนมา แต่ซึนาเดะใช้เวลาตัดสินใจ 1 อาทิตย์และได้ปฏิเสธข้อเสนอของโอโรจิมารุ และได้ประกาศจะล้างแค้นให้ทุกคนในหมู่บ้านโคโนฮะ โดยทั้งสองคน รวมทั้ง จิไรยะ ได้เกิดการต่อสู้กัน แล้วโอโรจิมารุก็ได้หนีไป
สุดท้ายโอโรจิมารุได้ตัดใจและได้เปลี่ยนวิญญาณของตัวเองไปอยู่ในร่างของนินจาคนอื่นเพื่อให้หายจากผนึกของโฮคาเงะรุ่นที่ 3 ในขณะเดียวกันก็รอการเปลี่ยนวิญญาณไปอยู่ในร่างของซาสึเกะ ที่หนีมาจากหมู่บ้านโคโนฮะ และ นารุโตะก็ได้ต่อสู้กับ ซาสึเกะโดยที่นารุโตะไม่ยอมให้ซาสึเกะ ไป จึง ต่อสู้เพื่อห้ามไว้ ถัดมา นารุโตะได้สู้กับ ซาสึเกะ ตัวเองสลบไป แล้วซาสึเกะจึงไปที่หมู่บ้านโอะโตะ เพื่อให้โอโรจิมารุสอนวิธีเพิ่มความแข็งแกร่งของตัวเองหรือให้ตัวเองเก่งขึ้น
ผ่านไป 2 ปี ทีมนารุโตะที่ได้รับคำสั่งให้มาพบกับสายลับของซาโซริ ซึ่งก็คือ ยาคุชิ คาบุโตะ แต่คาบุโตะที่ร่วมมือกับโอโรจิมารุก่อนแล้ว ได้ร่วมมือกับโอโรจิมารุต่อสู้กับทีมของนารุโตะ ทำให้นารุโตะแสดงพลังจิ้งจอกเก้าหางออกมาถึง 4 หาง แล้วโอโรจิมารุก็หนีไปพร้อมกับซาอิ

ฉายา

  • สามนินจาในโลกมืดแห่งสยาม
  • เซียนงูขาว
  • จงสะบั้นลื้น โอโรจิมารุ
  • ดาบ จงชี้ทาง คุซานางิ

เกร็ดข้อมูล

ในอดีตตอนที่ 3 นินจาในตำนานยังอยู่ครบ3คน จิไรยะ ซึนาเดะ โอโรจิมารุ ได้ไปที่หมู่บ้านอาเมะงาคุเระเพื่อจะไปยุติสงครามภายในแคว้น แต่ทว่าได้ต่อสู้กับฮันโซ (1ใน2ฝ่ายที่แบ่งกลุ่มในหมู่บ้านอาเมะงาคุเระอีกฝ่ายคือเพน) แต่ก็ไม่สามารถฆ่าซาลามานเดอร์ฮันโซได้

ฮันโซมีฉายาว่า ซาลามานเดอร์ ฮันโซ ซึ่งในแวดวงนินจาไม่มีใครไม่รู้จักเค้าเนื่องจากเค้าเก่งกาจแต่สุดท้าย ฮันโซก็ถูกเพนนี่ (หัวหน้าแสงอุษาที่มีโทบิ (อุจิวะ มาดาระ) ชักใยอยู่เบื้องหลัง) ฆ่าตายทั้งคนในตระกูล และผู้ที่เคยติดต่อด้วยทั้งหมดโอจิมารุ
 credit : th.wikipedia.org
http://qcmxua.bay.livefilestore.com/y1pTur7hqMyvD7TYBCBVNVcUpkIpCHDOg0tpWec8wbSkuQB8e5JJSV916LAwwi5k8BMisrdSPqO1iI/Naruto_364.jpg
http://cartoon.mthai.com/image/story/Orochimaru.png
http://image.dek-d.com/15/1260855/14501476
orochimaruanko.jpg
http://www3.pantown.com/data/21793/board1/1-20070117154621.jpg
http://www.yimwhan.com/board/data_user/holyAngel/photo/cate_4/7.gif

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครศรีธรรมราช

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.นครศรีธรรมราช

ที่ตั้งโครงการ

บ้านนางปี๊ ตำบลหูล่อง บริเวณปากแม่น้ำปากพนัง ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 3 กิโลเมตร

เริ่มโครงการเมื่อ

ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา

เว็บไซต์ของโครงการ

โดย

กองทัพภาคที่ 4
ที่อยู่ : ค่ายวชิราวุธ ตำบลปากพูน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 80000
เว็บไซต์ : http://www.army4.net

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อป้องกันการรุกตัวของน้ำเค็มในแม่น้ำปากพนัง เป็นแหล่งเก็บกักน้ำจืดบรรเทาการขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค การเกษตรและอื่นๆ ในเขตพื้นที่โครงการฯ รวมถึงการเก็บกักน้ำในลำน้ำใหญ่และสาขา การเก็บกักน้ำในพื้นที่ต้นน้ำลำธารพื้นที่น้ำขัง และการจัดหาน้ำใต้ดิน
  2. เพื่อบรรเทาอุทกภัยทั้งในพื้นที่และในบริเวณชุมชนเมืองให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  3. เพื่อปรับปรุงระบบชลประทานเดิมและพัฒนาระบบชลประทานใหม่ เนื่องจากมีแหล่งน้ำจืดเพิ่มขึ้น
  4. เพื่อปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจและสังคมของราษฎรในพื้นที่โครงการให้ดีขึ้นโดยมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

ความเป็นมา

     ในอดีตพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของภาคใต้  ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่อมาเมื่อประชากรมากขึ้นทรัพยากรธรรมชาติถูกนำมาใช้อย่างฟุ่มเฟือย  มีการตัดไม้ทำลายป่าทำให้ขาดแหล่งดูดซับน้ำหรือชะลอน้ำฝน ความสมดุลยทางธรรมชาติถูกทำลายลง เป็นสาเหตุน้ำจืดในแม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขา   จากที่เคยมีปีละ  9  เดือน  เหลือเพียงปีละ  3  เดือน  และจากลักษณะของแม่น้ำปากพนังมีความลาดชันน้อย  ทำให้น้ำทะเลลุกล้ำเข้าไปในลำน้ำเป็นระยะทางกว่า  100  กิโลเมตร ประกอบกับ  มีราษฎร์ส่วนหนึ่งใน  อ.หัวไทร  อ.เชียรใหญ่ และ อ.ปากพนัง  หันมาประกอบอาชีพการทำนากุ้งเนื่องจากการเพาะเลี้ยงกุ้งสามารถทำรายได้สูง  ปัญหาที่ตามมาได้แก่  การถ่ายเทน้ำเสียจากบ่อกุ้งลงสู่ทางน้ำธรรมชาติลุกลามเข้าไปในพื้นที่นาข้าว  ส่งผลให้ลำน้ำมีสภาพเค็มไม่เหมาะที่จะใช้ทำการเกษตร  จากสภาพปัญหาดังกล่าวที่ชาวปากพนังต้องเผชิญอยู่  เป็นมูลเหตุให้การประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้รับความเสียหาย  ขาดแหล่งน้ำจืดที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค และปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในที่ทำกินของเกษตรกร  โดยเฉพาะการทำนาได้รับความเสียหาย  พื้นที่นาลดจำนวนลงกว่าครึ่งหนึ่ง ผลผลิตตกต่ำราษฎรมีฐานะยากจน  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง  ดำเนินการแก้ไขและบรรเทาปัญหาของพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังภายใต้ โครงการการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค การทำการเกษตรและปัญหาการรุกล้ำของน้ำทะเล  รวมถึงการเลี้ยงกุ้งทะเลอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ  ซึ่งไก้มีพระราชดำริครั้งแรกเมื่อวันที่  13  กันยายน  2526  และต่อมาพระองค์ได้ทรงพระราชทานพระราชดำริมาอย่างต่อเนื่องรวมทั้งหมด  9  ครั้ง ครั้งหลังสุดเมื่อวันที่  21  ตุลาคม  2538  สรุปพระราชดำริว่า ให้พิจารณาก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนังให้เสร็จโดยเร็ว  ซึ่งเป็นงานหลักในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดและให้แก้ไขปัญหาน้ำท่วม ในพื้นที่ทำกินของราษฎรโดยการขุดลอกคลองระบายน้ำ  พร้อมประตูระบายน้ำและอาคารควบคุมลำน้ำสาขาต่างๆ เพื่อระบายน้ำออกจากพื้นที่โครงการ กำหนดแนวเขตที่เหมาะสมในการแยกน้ำจืดน้ำเค็มออกจากกันโดยชัดเจน  ขณะเดียวกันควรมีการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการให้ราษฎรอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาในการดำเนินโครงการ  โดยมีส่วนราชการต่างๆ ร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่แหล่งน้ำ  ทั้งในด้านเศรษฐกิจ  สังคม  การศึกษา  การสาธารณสุข  กรมชลประทาน  ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพแวดล้อม  และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ต่อมาเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน  2545  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริเพิ่มเติมกับเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา  เลขาธิการ กปร. และอธิบดีกรมชลประทาน  ณ  วนอุทยานปราณบุรี  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  สรุปว่า  ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำเน่าเสียโดยให้ระบายน้ำจากแม่น้ำปากพนังไปออกคลองธรรมชาติไปออกทะเลอีกด้านหนึ่ง  และเร่งดำเนินการขุดคลองชะอวด-แพรกเมืองให้แล้วเสร็จโดยเร็ว  พร้อมทั้งพิจารณาก่อสร้างอาคารบังคับน้ำเพื่อควบคุมระดับน้ำในพื้นที่พรุควนเคร็งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดไฟไหม้พรุ  สำหรับการสนองพระราชดำริ โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังฯ  ได้ดำเนินการสนองพระราชดำริมาตั้งแต่ปี 2538  โดยกรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนังหรือประตูระบายน้ำอุทกวิภาชประสิทธิแล้วเสร็จเมื่อปี 2542 พร้อมได้ก่อสร้างระบบชลประทานอื่นๆ ควบคู่กันไปกับการพัฒนาส่งเสริมอาชีพด้านเกษตรกรรมและการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการฯ ได้มอบนโยบายเมื่อคราวประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการฯครั้งที่ 1/2546  เมื่อวันที่ 18  กันยายน  2546  สรุปว่า ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐานให้แล้วเสร็จภายในปี 2547  และหน่วยงานทหารเข้ามาร่วมดำเนินการในส่วนการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานดังกล่าวด้วย


รายละเอียดโครงการ



งบประมาณ
     ได้รับงบประมาณสนับสนุนในระยะแรกของโครงการ จากสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และมีการดำเนินงานต่อไปใช้งบประมาณปกติของแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบ

แผนการดำเนินงาน
     คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 เห็นชอบกรอบแผนงานงบประมาณและขยายเวลาการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (2545 - 2547) จากเดิม 2 แผนงาน คือ แผนงานด้านชลประทานและแผนปฏิบัติการแก้ไขและพัฒนาสิ่งแวดล้อม เป็น 5 แผนงาน โดยในปี 2545 ดังนี้
  1. แผนงานด้านก่อสร้างระบบชลประทานและโครงสร้างพื้นฐาน
  2. แผนงานด้านการพัฒนาประมง
  3. แผนงานด้านการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมรายได้
  4. แผนงานด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
  5. แผนงานด้านการบริหารจัดการ
ประโยชน์ที่ได้รับ

  1. ป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้าไปทำลายพื้นที่การเกษตร
  2. เก็บกักน้ำจืดไว้ในลำน้ำปากพนังและลำน้ำสาขา ประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อการอุปโภค-บริโภค และการเพาะปลูกบริเวณสองฝั่งลำน้ำประมาณ 521,500 ไร่ ในฤดูฝน และประมาณ 240,700 ไร่ ในฤดูแล้ง
  3. คลองระบายน้ำช่วยลดพื้นที่ที่เคยเกิดอุทกภัย เนื่องจากสามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
  4. ขจัดปัญหาระหว่างเกษตรกรนากุ้งและเกษตรกรนาข้าว เนื่องจากมีการแบ่งเขตของการใช้พื้นที่อย่างชัดเจน
  5. ลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานไปทำกินในถิ่นอื่น
  6. แม่น้ำปากพนังและลำน้ำสาขา จะกลายเป็นแหล่งเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืดได้เป็นอย่างดี
  7. เพิ่มพูนผลผลิตการเกษตรหลากหลายและครบวงจรทั้งทางด้านการเพาะปลูก การประมง ปศุสัตว์ ฯลฯ ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรม
  8. ยกระดับมาตรฐานการครองชีพและความเป็นอยู่ของราษฎร
  9. ฟื้นฟูสภาพนิเวศวิทยาให้กลับคืนสู่ดุลยภาพ
  10. ลดปัญหาการเกิดน้ำเปรี้ยวและดินเปรี้ยว

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลส่วนตัว

นายเอกสิทธิ์  คัพไพลินย์
รหัส นศ. 115430503751-1
คณะ บริหารธุรกิจ
สาขา การจัดการอุตสาหกรรม2